คำเกริ่นนำ

     นายอานันท์ ปันยารชุน มีชีวิตการเมืองที่แปลกต่างจากนักการเมืองอื่นตรงที่ได้เข้าสู่วงจรการเมืองด้วยอุบัติเหตุทั้งสองครั้ง มิใช่เข้ามาด้วยความตั้งใจไว้ก่อนอย่างนักการเมืองทั่วไป

     ครั้งแรกเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ โดยอ้างว่าเป็น "บุฟเฟ่ต์คาบิเนท"

     เพื่อให้ประชาชนและต่างชาติยอมรับ คณะ รสช. จึงเชิญนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

     ด้วยการบริหารงานอย่างเป็นตัวของตัวเอง โปร่งใส ตรงไปตรงมา และกล้าตัดสินใจ ทำให้รัฐบาลอานันท์มีผลงานหลายอย่าง เช่น การรื้อสัญญาโทรศัพท์ ๓ ล้านเลขหมายที่ไม่เป็นธรรม การประกาศโครงสร้างภาษีใหม่ โดยประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะเดียวกันได้ประกาศลดภาษีเงินได้ส่วนบุคคลลงมา นอกจากนี้ยังมีผลงานที่เป็นคุณต่อประเทศชาติอีกมากมายในด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา การปฏิรูประบบราชการ การต่างประเทศ และอื่น ๆ เป็นที่กล่าวขวัญและยอมรับจากประชาชนโดยทั่วไป

     แบบอย่างการทำงานอย่าง "โปร่งใส" กลายเป็นแนวคิดสำคัญที่ถูกอ้างถึงอย่างต่อเนื่องตลอดมา

     การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๕ ทำให้ห้าพรรคการเมืองหนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางความไมพอใจของประชาชนที่เห็นว่าคณะ รสช. เข้ามายืดอำนาจของตัวเองออกไป ประชาชนเรือนแสนชุมนุมกันต่อต้าน และจบลงด้วยทหารจำนวนหนึ่งถูกสั่งให้ปราบปรามประชาชนจนบาดเจ็บล้มตายและสูญหายไปนับร้อยคน พลเอกสุจินดาจำต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

     ท่ามกลางความขัดแย้ง ทำให้นายอานันท์ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยการกราบบังคมทูลฯ ของประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องการแก้วิกฤตผู้นำรัฐบาลในเวลานั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งโยกย้ายผู้นำทางทหารที่มีบทบาทในความรุนแรงของเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ ให้ออกจากหน้าที่คุมกำลัง เป็นการตัดสินใจที่นอกเหนือความคาดหมาย แต่ก็มีผลสำคัญที่คลี่คลายความรู้สึกไม่พอใจของพลังฝ่ายประชาธิปไตย

     นายอานันท์เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบสอง เพื่อฟื้นฟูสภาพบอบช้ำจากวิกฤตความขัดแย้ง โดยอยู่ในตำแหน่งเพียง ๓ เดือนเศษ แล้วจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่

ประสาร มฤคพิทักษ์


บทบาทในปัจจุบัน

บทบาทในอดีต

  • คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
  • คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สภาร่างรัฐธรรมนูญ
  • นายกรัฐมนตรี

 - สมัยที่ ๑ : ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ - ๒๑ เมษายน ๒๕๓๕

รวมวีดิทัศน์ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๑
 

- สมัยที่ ๒ : ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๑ ตุลาคม ๒๕๓๕

รวมวีดิทัศน์ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๒
  • คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
  • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบ จากกรณีกฏหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา - สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะที่ปรึกษาราชการฝ่ายบริหาร